ชวนคุณครูพาเด็ก ๆ เรียนรู้เรื่อง วิธีการเลี้ยงยีสต์ธรรมชาติ จากผลไม้ที่มีในบ้านโดยให้เด็ก ๆ มาศึกษาการเพาะเลี้ยงยีสต์ พร้อมสอดแทรกความรู้เรื่อง กระบวนการหมัก (Fermentation) และ การสืบพันธุ์ของเซลล์ เด็ก ๆ จะได้สนุกกับการเรียนอะไรบ้างไปติดตามกันครับ
1. ด้านวิทยาศาสตร์
ศึกษาเกี่ยวกับ สารอาหารจากผลไม้ใกล้ตัว เช่น วิตามินในผลไม้ ประเภทน้ำตาลในผลไม้แต่ละชนิด
กระบวนการการหมัก ประเภทของยีสต์เป็นการสืบพันธ์แบบใด
ผ่านกิจกรรมศึกษาวิธีการหมักยีสต์จากผลไม้ใกล้ตัว โดยให้เด็ก ๆ ศึกษาขั้นตอนกระบวนการหมัก ที่จะเกิดยีสต์ โดยใช้ผลไม้ประเภทใดในการทำครั้งนี้
2. ด้านคณิตศาสตร์
ศึกษาเรื่อง วัด ชั่ง ตวง เพื่อประยุกต์ใช้ ในการตวงอัตราส่วนและคำนวณวัตถุดิบในการหมักผลไม้
ผ่านกิจกรรมการชั่งตวงปริมาณของผลไม้ในการหมักยีสต์ โดยเด็ก ๆ ลงมือหาวิธีการชั่งตวง และคำนวณปริมาณของผลไม้ และสัดส่วนของน้ำที่ใช้ในการหมักยีสต์ โดยที่ยีสต์สามารถสร้างอาหารได้
3. ด้านวิศวกรรมศาสตร์
การออกแบบเชิงวิศวกรรมอย่างง่าย ทดสอบและปรับปรุงแก้ไข
ผ่านกิจกรรมออกแบบภาชนะที่มีความเหมาะสมต่อการหมักยีสต์โดยการเลือกภาชนะที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการเลี้ยงยีสต์เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตได้เต็มที่
4. ด้านเทคโนโลยี
ศึกษาการออกแบบกระบวนการคิดและการวางแผนอย่างง่าย ผ่านการสืบค้น และวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่ต้องการยีสต์ เพื่อใช้พัฒนาต่อเป็นผลิตภัณฑ์ได้
ผ่านกิจกรรมวางแผนคัดเลือกผลไม้ที่จะนำมาใช้ในการหมักยีสต์ โดยคัดเลือกผลไม้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำยีสต์ เผื่อนำยีสต์ไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มียอดขายได้อีกด้วย
ปัจจุบันเรื่องของภูมิแพ้ถูกให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิมมาก ๆ คุณครูจึงควรเพิ่มความเข้าใจให้ผู้เรียนมากยิ่งขึ้น วันนี้แอดมินเลยขอชวนคุณครูพาเด็ก ๆ ไปทำความเข้าใจกันมากขึ้นผ่านไอเดียสะเต็มชวนคิดเรื่อง ทำไมต้องแพ้ให้กุ้งทุกที คุณครูสามารถสอดแทรกความรู้อะไรได้บ้าง
1. ด้านวิทยาศาสตร์
ศึกษาเรื่องภูมิแพ้กับภูมิคุ้มกัน
ผ่านกิจกรรม เข้าใจความสัมพันธ์
โดยครูอธิบายเรื่องภูมิแพ้กับภูมิคุ้มกัน และสอดแทรกความหมายและความสัมพันธ์ของ “แอนติเจน (Antigen)” และ “แอนติบอดี (Antibody)” ให้เข้าใจได้ลึกยิ่งขึ้น
2. ด้านเทคโนโลยี
ศึกษาเรื่อง การแสดงอัลกอริทึมในการทำงาน หรือการแก้ปัญหาอย่างง่าย การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ออกแบบกระบวนการคิด และการทำงาน และการสร้างสรรค์ภาพเคลื่อนไหว
ผ่านกิจกรรม ภูมิแพ้เข้าใจได้
โดยให้ผู้เรียนนำโรคภูมิแพ้ที่ตนเองสืบค้น มาอธิบายให้เข้าใจง่ายในรูปแบบ Infographic หรือเล่าผ่านคลิป และนำเสนอผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในการรับความเห็น และวัดผลได้
3. ด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรม
ศึกษาเรื่อง ข้อมูลและแผนภูมิ และการออกแบบเชิงวิศวกรรมอย่างง่าย
ผ่านกิจกรรม ฉันคือ Data Analyst
โดยให้ผู้เรียนนำข้อมูล สถิติ ที่พี่สืบค้นมาสรุปเป็นแผนภูมิ และลองวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อต่อยอดชิ้นงานใหม่ เช่น แอปพลิเคชันตรวจสอบอาการหรือโรคภูมิแพ้
คุณครูสามารถปรับแต่ละหัวข้อที่ต้องการสอดแทรกเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมของบริบทในห้องเรียนได้เลยนะครับ หลังจากทำกิจกรรมเหล่านี้คุณครูสามารถให้ผู้เรียนได้สะท้อนความคิด (Reflection) ได้ถึงสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้นอกจากเนื้อหาบทเรียน
สิ่งที่ตัวเองรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่อยากจะนำไปต่อยอด/ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รับรองว่ากิจกรรมนี้จะช่วยให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายสมรรถนะอย่างแน่นอน